หน้าเว็บ

ตอนที่ 12: Protective Put มาทำประกันพอร์ทกันเถอะ

clip_image001Options14
ภาวะตลาดช่วงนี้ดูไม่ค่อยสดใสนะครับ คนเล่นหุ้นคงต้องถอยตั้งหลักกันก่อน แต่สำหรับคนที่ Short Futures ไว้คงได้กำไรกันบ้างนะครับ แต่หากใคร Long Futures ไป แล้วยังไม่ได้ปิดสถานะ วันนี้เรามีกลยุทธ์การทำประกันพอร์ทที่เรียกว่า Protective Put มาแนะนำครับ
clip_image003Protective Put เป็นกลยุทธ์ที่เน้นป้องกันความเสี่ยงเหมือนกับ Covered Call ที่เราพูดถึงกันไปในครั้งที่แล้ว แต่การคาดการณ์ตลาดจะต่างกัน โดย Protective Put นั้นเป็นการ Long Futures ควบคู่ไปกับการ Long Put โดยกลยุทธ์นี้จะเหมาะกับช่วงที่ตลาดผันผวนสูง นักลงทุนมองว่าตลาดจะขึ้นแรง และได้ Long Futures เอาไว้ก่อนแล้ว แต่ก็กังวลว่าตลาดอาจจะลงแรงได้เช่นเดียวกัน จึงได้ทำการลดความเสี่ยงโดยการ Long Put เพื่อจำกัดผลขาดทุนในกรณีที่ตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์
clip_image003[1]ตัวอย่าง เช่น นาย ก คาดว่าสิ้นปีจะมีการเลือกตั้งและดัชนี SET50 น่าจะปรับตัวขึ้นแรงได้ จึง Long Futures S50Z07 ที่ราคา 650 จุด ต่อมาตลาดเกิดความผันผวนสูงจากปัจจัยภายนอกประเทศ ทำให้มีความเสี่ยงที่ตลาดจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง จึงลดความเสี่ยงด้วยการซื้อพุทออปชัน S50Z07P670 จำนวน 5 สัญญา ที่ราคา 40 จุด โดยจ่ายค่าพรีเมียมไป 40,000 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากตัวคูณดัชนีของฟิวเจอร์สคิดเป็น 5 เท่าของออปชัน ดังนั้น ในการทำ Protective Put การ Long Futures 1 สัญญา จะจับคู่กับการ Long Put ได้อย่างมากที่สุด 5 สัญญา เหมือนกับการทำ Covered Call ครับ โดยนาย ก จะใช้สิทธิในพุทออปชัน S50Z07P670 เมื่อดัชนี SET50 ณ วันหมดอายุอยู่ต่ำกว่า 670 จุด และจะได้กำไรหลังหักค่าพรีเมียม ก็ต่อเมื่อดัชนี SET50 ลงไปต่ำกว่า 630 จุด
clip_image003[2]เมื่อ ถึงสิ้นเดือนธันวาคม หากดัชนี SET50 เพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่ 720 จุด นาย ก จะได้กำไรจากการถือฟิวเจอร์ส (720-650)x1,000 = 70,000 บาท แต่ต้องเสียพรีเมียมจากการ Long Put ไป 40,000 บาท สุทธิแล้วได้กำไรทั้งสิ้น 30,000 บาท ทั้งนี้ หากดัชนี SET50 ปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก โดยไปปิดที่ 690 จุด นาย ก จะได้กำไรจากการถือฟิวเจอร์ส (690-650)x1,000 = 40,000 บาท สุทธิจากค่าพรีเมียมที่เสียไปแล้ว ในกรณีนี้ นาย ก จะไม่ได้ไม่เสียจากการทำ Protective Put
clip_image003[3]ใน ทางตรงข้าม หากดัชนี SET 50 ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดการณ์ไว้ โดยปิดที่ 650 จุด เท่ากับราคาฟิวเจอร์สที่ซื้อ นาย ก ก็จะไม่ได้รับกำไรจากการขายฟิวเจอร์ส แต่นาย ก มีผลขาดทุนจากการใช้สิทธิในพุทออปชันจำนวน (670-650-40)x200x5 = 20,000 บาท รวมแล้วขาดทุนทั้งสิ้น 20,000 บาท ทั้งนี้ หากดัชนี SET50 ปรับตัวลงแรงไปปิดที่ 620 จุด นาย ก จะขาดทุนจากการถือฟิวเจอร์ส (650-620)x1,000 = 30,000 บาท แต่ได้รับการชดเชยจากกำไรจากการใช้สิทธิในพุทออปชัน (670-620-40)x200x5 = 10,000 บาท สุทธิแล้วขาดทุน 20,000 บาท เท่ากับกรณีก่อนหน้า
clip_image003[4]จะ เห็นได้ว่าผลตอบแทนของกลยุทธ์นี้ จะคล้ายกับการทำประกันพอร์ทหรือสังเกตดีๆ จะเหมือนกับการซื้อคอลออปชัน S50Z07C670 ที่ราคา 20 จุด จำนวน 5 สัญญา กล่าวคือ หากดัชนี SET50 เพิ่มขึ้นมากกว่า 690 จุด การซื้อคอลออปชันจะได้รับกำไรไม่จำกัด แต่ในกรณีที่ SET50 ปรับตัวลง ผู้ซื้อคอลออปชันก็จะมีผลขาดทุนไม่เกิน 10,000 บาท เท่ากับค่าพรีเมียมที่เสียไปครับ แต่การทำ Protective Put นั้น จะเหมาะกับนักลงทุนที่มีสถานะ Long Futures อยู่ก่อนแล้ว การซื้อพุทออปชันจะช่วยเปลี่ยนสถานะสุทธิของพอร์ทให้เป็นการ Long Call ครับ
clip_image003[5]ทั้ง นี้ หากไม่ต้องการรอจนหมดอายุ ก็สามารถแยกปิดสถานะ Long Futures กับ Long Put ได้ โดยผลตอบแทนของการ Long Put ก็จะวิ่งสวนทางกับการ Long Futures ตามที่เคยกล่าวมาแล้วในครั้งก่อนครับ
clip_image003[6]เป็น อย่างไรกันบ้างครับ การทำ Ptotective Put เพื่อจำกัดผลขาดทุนของพอร์ท กลยุทธ์นี้สามารถปรับใช้ได้ดีกับผู้ที่ลงทุนในหุ้นอยู่ด้วย และน่าจะเป็นประโยชน์กับภาวะตลาดที่ผันผวนแบบนี้นะครับ คราวหน้าเราจะมาดูการทำ Spread ของออปชันกัน ต้องติดตามนะครับ

อ่านต่อตอนที่13

Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม