หน้าเว็บ

ตอนที่ 13: เตรียมพร้อมสู้กระทิง Bull Spreadll

clip_image001 Options15
สัปดาห์ นี้ตลาดบ้านเราเริ่มกลับมาสดใสขึ้นบ้าง แต่ก็อย่าเพิ่งรีบกระโจนเข้าใส่นะครับ เพราะยังไม่แน่ว่าจะเป็นการดีดขึ้นเพื่อลงต่อหรือเปล่า เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว วันนี้จึงมีกลยุทธ์สู้ตลาดกระทิงอย่าง Bull Spread มาแนะนำครับ
clip_image003Bull Spread เป็นการใช้ออปชันชนิดเดียวกัน ที่มีราคาใช้สิทธิต่างกันมาสร้างเป็นกลยุทธ์ เพื่อทำกำไรในตลาดขาขึ้นและป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ตลาดไม่เป็นไปตามที่ คาดการณ์ โดย Bull Spread สามารถสร้างได้ทั้งจาก Call Options ซึ่งเรียกว่า Bull Call Spread และจาก Put Options เรียกว่า Bull Put Spread ครับ
clip_image003[1]เริ่ม จาก Bull Call Spread เป็นการซื้อคอลออปชันที่ราคาใช้สิทธิหนึ่ง พร้อมกับขายคอลออปชันที่มีราคาใช้สิทธิสูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ซื้อ S50Z07C620 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 30 จุด ในขณะเดียวกันก็ขาย S50Z07C660 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 10 จุด สุทธิแล้วนาย ก จะต้องเสียเงินทั้งสิ้น 4,000 บาท กรณีนี้ต้นทุนจะต่ำกว่าการซื้อคอลออปชันเพียงอย่างเดียวครับ ทั้งนี้ โดยทั่วไปคอลออปชันที่มีราคาใช้สิทธิต่ำจะมีราคาสูงกว่าคอลออปชันที่มีราคา ใช้สิทธิสูง ดังนั้น ในการทำ Bull Call Spread ผู้ลงทุนจะต้องเป็นฝ่ายจ่ายกระแสเงินสดออกไปก่อนในวันแรก และไม่มีการเรียกเก็บหลักประกันแต่อย่างใด
clip_image003[2]ณ วันครบกำหนดอายุ หากดัชนี SET50 ปิดที่ 660 จุด นาย ก จะได้กำไรจากการซื้อคอลออปชัน 2,000 บาท ขณะเดียวกันก็ได้พรีเมียมจากการขายคอลออปชันอีก 2,000 บาท รวมแล้วได้กำไรทั้งสิ้น 4,000 บาท หากดัชนี SET50 ปิดสูงกว่า 660 จุด ผลกำไรจากการซื้อคอลออปชันจะหักลบกับผลขาดทุนจากการขายคอลออปชัน สุทธิแล้ว นาย ก จะมีกำไรไม่เกิน 4,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากดัชนี SET50 ลดลงปิดที่ 620 จุด นาย ก จะได้รับพรีเมียมจากการขายคอลออปชันไปฟรีๆ 2,000 บาท แต่ต้องเสียพรีเมียมจากการซื้อคอลออปชันไปเช่นกันจำนวน 6,000 บาท สุทธิแล้วขาดทุนทั้งสิ้น 4,000 บาท และในกรณีที่ SET50 ลดลงต่ำกว่า 620 จุด เมื่อหักลบค่าพรีเมียมที่ได้รับกับที่เสียไปแล้ว นาย ก จะมีผลขาดทุนไม่เกิน 4,0ิทธิ
clip_image003[3]สำหรับ Bull Put Spread คล้ายกับการทำ Bull Call Spread แต่เป็นการซื้อพุทออปชันที่ราคาใช้สิทธิหนึ่ง พร้อมกับขายพุทออปชันที่มีราคาใช้สิทธิสูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ซื้อ S50Z07P620 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 10 จุด ขณะเดียวกันก็ขาย S50Z07P660 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 30 จุด สุทธิแล้ว นาย ก ได้รับเงินทั้งสิ้น 4,000 บาท ทั้งนี้ ตามทฤษฎีพุทออปชันที่มีราคาใช้สิทธิต่ำจะมีราคาต่ำกว่าพุทออปชันที่มีราคา ใช้สิทธิสูง ดังนั้น ในการทำ Bull Put Spread ผู้ลงทุนจะเป็นฝ่ายได้รับเงินก่อน และต้องวางหลักประกันเท่ากับผลต่างของราคาใช้สิทธิคูณด้วยตัวคูณดัชนี
clip_image003[4]ณ สิ้นเดือนธันวาคม หาก SET50 ปิดที่ 660 จุด นาย ก จะได้พรีเมียมจากการขายพุทออปชัน เนื่องจากผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิจำนวน 6,000 บาท ขณะเดียวกันต้องเสียค่าพรีเมียมจากการซื้อคอลออปชันไปฟรีๆ 2,000 บาท สุทธิแล้วได้กำไร 4,000 บาท โดยในกรณีที่ SET50 ปิดสูงกว่า 660 จุด นาย ก จะได้กำไรสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท ในทางตรงข้ามหาก SET50 ปิดที่ 620 จุด นาย ก จะขาดทุนจากการขายพุทออปชัน 2,000 บาท และต้องเสียค่าพรีเมียมจากการซื้อคอลออปชันอีก 2,000 บาท รวมแล้วขาดทุน 4,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากดัชนี SET50 ปิดต่ำกว่า 620 จุด นาย ก ก็จะมีผลขาดทุนสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท
clip_image003[5]จะ เห็นได้ว่าผลตอบแทนของ Bull Call Spread กับ Bull Put Spread จะมีลักษณะคล้ายกัน ต่างกันตรงที่การทำ Bull Call Spread ผู้ลงทุนจะเป็นฝ่ายที่จ่ายกระแสเงินสดออกไปก่อน ในขณะที่การทำ Bull Put Spread ผู้ลงทุนจะเป็นฝ่ายได้รับเงินเข้ามาก่อน และต้องวางหลักประกันจำนวนหนึ่ง ดังนั้น การเลือกทำกลยุทธ์ใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ลงทุน และราคาตลาดของออปชันในขณะนั้นเป็นหลักครับ โดยหากตลาดอยู่ในขาขึ้นราคาคอลออปชันจะสูงกว่าพุทออปชันโดยเปรียบเทียบ การทำ Bull Call Spread อาจจะมีต้นทุนสูงกว่าการทำ Bull Put Spread แต่หากตลาดเป็นขาลง การทำ Bull Put Spread ก็อาจจะมีต้นทุนสูงกว่าได้ครับ
clip_image003[6]คราวหน้าเราจะมาศึกษาการทำ Bear Spread กันบ้าง ต้องติดตามครับ

อ่านต่อตอนที่14

Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม