หน้าเว็บ

12. DSM (12) – หลักการซื้อคืน 3 แบบ

images
12. DSM (12) – หลักการซื้อคืน 3 แบบ
หลักการซื้อคืนดังนี้ 3 แบบ ดังต่อไปนี้
1. ซื้อคืนเมื่อราคาต่ำกว่าที่ขาย ประมาณ 5 ช่อง
2. ซื้อคืนเมื่อซื้อกลับมาได้รวดเดียว 3 ราคาที่ขายไป
3. ซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดขึ้นมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้อ
สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น ทีละ 10% เท่ากับ 1,000 หุ้น
กรณีที่ 1. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปหุ้นไปที่ราคา 9.90 บาท และสามารถรับหุ้นกลับได้ที่ 9.65 บาท ให้เคาะซื้อด้าน offer
กรณีที่ 2. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ ขาย ทุก 2 ช่อง รับหุ้นกับคืนทุก 3 ช่อง เช่น ขายไปที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50 บาทแล้วราคาหุ้นมานิ่งที่ 9.55 บาท ซึ่งสามารถรับกลับได้ที่ 9.90, 9.80, 9.70 ซึ่งสามารถซื้อกลับได้ 3 ไม้ที่ขายไป
กรณีที่ 3. หมายถึงว่าได้ทำการขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ แล้วมีแรงขายออกมาจากหุ้นอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งไม่ควรรีบไปรับหุ้นกลับต้องรอให้หุ้นลงจนสุดและนิ่งแล้วราคาเริ่มขึ้นมาได้ 4 ช่อง แล้วค่อยซื้อคืน เช่น ขายที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50, 9.40, 9.30, 9.20, 9.10, 9.00 บาท แล้วราคาก็ไหลลงไปอีกเรื่อย ๆ หลังจากที่เราขายหมดมือไปแล้ว สมมุติว่า ราคาลงไปถึง 8.50 บาท แล้วเริ่มนิ่งๆ มีแรงซื้อกลับเข้ามาอยู่ที่ 8.70 บาท ก็สามารถซื้อคืนทั้งหมดที่เราขายไปได้ทั้งสิบไม้ ถ้าหลังจากรับกลับแล้วขึ้นวิ่งขึ้นมาที่ 9.20 บาท ก็ยิ้ม แต่ถ้าซื้อแล้วหุ้นลงต่อทำอย่างไรดี ไม่ต้องกลัวก็ขายใหม่โดยเอาจุดที่เราซื้อคืน 8.70 บาท เป็นฐาน ถ้าลงมาที่8.60 บาท ขายตามแผนการลงทุนที่วางไว้
การซื้อรูปแบบที่ 3 ใช้กับหุ้นที่เรามีจำนวนมากเพราะยังแสดงว่าหุ้นลงและซื้อกลับได้
ส่วนการซื้อรูปแบบที่ 1-2 ใช้กับหุ้นที่เรามีเหลือจำนวนน้อย และส่วนที่ยังซื้อคืนไม่ได้ทิ้งไว้เป็นกองหลังต่อไป
ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าถ้าหุ้นไหลลงอย่างแรงอย่างมาก อาจมีการลงต่ออีกหลายวันต้องพิจารณาแต่ละเหตุการณ์ไป หรือรอให้ราคาหุ้นตกจนสุดหรือเรียกว่าสะเด็ดน้ำหรือมีดตกถึงเขียงแล้วค่อยเข้าไปซื้อคืนตอนที่หุ้นเขียวอ่อน ๆ และขึ้นมาจากจุดสุดท้าย 4 ช่อง เพื่อรับประกันว่าขึ้นจริง แต่อย่าลืมที่บอกไปนะว่าถ้าลง ก็ขายตามแผนต่อ อยากจะบอกและเน้นย้ำว่า DSM เป็นแนวคิดไม่ใช่วิธีการใด ๆ ไม่มีวิธีการใดดีที่สุดสำหรับนักลงทุนแต่ละท่าน ต้องค้นหาวิธีการที่เหมาะสมกับตัวนักลงทุนแต่ละท่านเอง
ถ้าถามว่า หลักการซื้อคืนข้อไหนดีที่สุด ก็คงบอกไม่ได้ว่าข้อไหน แต่ต้องบอกว่าแล้วแต่สถานการณ์นั้นๆ เป็นหลัก แต่ถ้าเป็นไปได้อย่างให้ยึดหลักการซื้อคืนข้อ 3 เป็นหลัก เพราะการซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดขึ้นมา 4 ช่อง แล้วเข้าซื้อ นั้นย่อมแสดงว่าหุ้นมีการกลับตัวเป็นขาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แล้วโอกาสที่หุ้นจะลงต่อก็น้อยลงไปด้วย แต่ก็อาจจะลงต่อได้เมื่อกัน อย่าลืมว่าห้ามเดาตลาด เพราะเป็นอะไรที่เดาไม่ถูก100% แน่นอน
ถ้าถามว่า การซื้อหุ้นกลับคืนเร็วตามลำดับการขาย(ข้อ 1, 2) กับ การซื้อแบบรวบยอด (ข้อ 3) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ มีความแตกต่างกัน 2 ข้อใหญ่ดังต่อไปนี้
1. การซื้อคืนแบบรวบยอด ทำให้ได้กระแสเงินสดแฝงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
2. การไม่รีบซื้อหุ้นคืน อาจจะช่วยชีวิตเราได้ในยามที่ วงในมีข่าวร้ายแล้วเค้าค่อย ๆ ระบายหุ้นทิ้ง เพราะหากเกิดกรณีเช่นนี้ การซื้อหุ้นคืนเร็วเกินไป แล้วต้องมาขายหุ้นอีก เมื่อราคาไหลลงต่อ เพื่อจะได้ซื้อหุ้นคืนกลับแบบไม่รู้จบโดยขายและซื้อกลับซ้ำแล้วซ้ำอีก แทนที่จะขายให้หมดมือ แล้วรอจนอาการดีขึ้นซึ่งบางครั้ง อาจไม่ดีขึ้นเลยก็ได้ ตัวอย่างหุ้น เช่น PICNI เป็นต้น นักลงทุนท่านใด ทำการซื้อคืนตามแบบข้อ 1, 2 กับ การซื้อคืนตามแบบข้อ 3 ก็จะได้เห็นความแตกต่างของกระแสเงินสดอย่างมีนัยสำคัญ และการซื้อคืนตามแบบข้อ 3 ก็ช่วยชีวิตท่านได้อีกเช่นกัน
แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆไม่ได้อยู่ที่การซื้อคืนตามลำดับหรือว่าการซื้อคืนแบบรวมยอด แต่สิ่งสำคัญมากกว่าคือ “เมื่อหุ้นลง ต้องขายลงมาเรื่อย ๆ ตามแผน แล้วไม่รีบซื้อกลับคืน” สิ่งนี้ถือว่าสำคัญกว่าวิธีการซื้อหุ้นกลับคืนไม่ว่าวิธีไหน ๆ
Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม