เคล็ดวิชา DSM
1. สิ่งที่ดีที่สุด คือ สิ่งที่ง่ายที่สุด ( Basic DSM )
2. การลงทุนควรจะเป็นแบบง่ายๆ และเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
เราแค่เหนื่อยในการคิดแผน เมื่อได้แผนแล้ว ก็แค่ทำตามแผนอย่างเคร่งครัดเท่านั้น
3. DSM จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการวางแผนว่า วันรุ่งขึ้นจะต้องขายอะไร ซื้ออะไร และเมื่อไร
4. DSM ออกแบบมาสำหรับตลาดขาขึ้น
5. DSM ให้ความสำคัญกับหุ้นมากกว่าเงิน
6. DSM ไม่สนมูลค่าพอร์ตว่าเป็นเท่าไร สนแต่สะสมปริมาณหุ้นเพิ่มมากขึ้น
7. หุ้นพื้นฐานดี เน้นเพิ่มจำนวน : หุ้นปั่น เน้นเพิ่ม กสงฝ.
8. มูลค่าพอร์ตจะแสดงตัวเลขเป็นกำไร ก็ต่อเมื่อหุ้นมีการปรับตัวสูงขึ้นจากก้นอ่างแล้วเท่านั้น
9. บางครั้งรายได้จำนวนมาก อาจจะได้มาโดยบังเอิญ ไม่ใช่โดยการรีด เน้น เค้น บีบ
10. เขียวซื้อ แดงขาย
11.หุ้นยิ่งขึ้น ยิ่งต้องซื้อ : ไม่ขึ้นเมื่อไร ต้องหยุดซื้อ
12.หุ้นยิ่งลง ยิ่งต้องขาย : ไม่ลงเมื่อไร ต้องหยุดขาย
13.ขายเพื่อสร้างโอกาสซื้อ
14.กำไรเมื่อซื้อ
15.ขาย 10 % ทุกครั้งที่ลง 2 ช่อง
16.ถ้ามีหุ้นน้อย ขาย 15 % ทุกครั้งที่ลง 3 ช่อง หรือ 20 % ทุกครั้งที่ลง 4 ช่อง ฯลฯ
17.ถ้ามีหุ้นน้อย ขายช่วง ( gab ) ห่างมากขึ้น
18.ถ้ามีหุ้นน้อย ซื้อคืนเมื่อได้ส่วนต่าง 5 ช่อง
19.ถ้ามีหุ้นน้อย ซื้อคืนเมื่อซื้อได้รวดเดียว 3 ไม้
20.ถ้ามีหุ้นมาก ซื้อคืนเมื่อราคาลงต่ำสุดแล้วดีดกลับ 4 ช่อง
21.หุ้นตกเร็วมาก ผิดจากแผนที่วางไว้ ให้ขายที่ BID เลยทันที ด้วย vol. ปกติเท่าเดิม ห้ามลังเล
22.เวลาซื้อหุ้นคืน คือ ก่อนปิดตลาดเช้า และ/หรือ บ่าย ประมาณ 30 นาที
23.ควรใช้กราฟช่วยกำหนดช่วง ( gab ) และจำนวน ( lot ) ของหุ้นที่จะซื้อหรือจะขาย
24.ขาลง : ขายเร็ว ( gab น้อย ) แต่ซื้อช้า ( gab มาก ) และ ขายจำนวน ( lot ) มากกว่าซื้อคืน
25.ขาขึ้น : ขายช้า ( gab มาก ) แต่ซื้อเร็ว ( gab น้อย ) และ ซื้อคืนจำนวน ( lot ) มากกว่าขาย
26.บางครั้งอาจจำเป็นต้องคำนวณราคาขายใหม่ในบางราคา เพื่อจัดสมดุลพอร์ต หรือเพื่อการซื้อหุ้นคืนมากขึ้น
27.ช่วง side way หรือช่วงที่หุ้นยังไม่มีแนวโน้มชัดเจน ทะยอยขายครั้งละ 1 – 2 % ก็ได้ เพื่อเป็นรายได้นิด ๆ
28.ช่วง side way หรือช่วงที่หุ้นยังไม่มีแนวโน้มชัดเจน ทะยอยขายครั้งละ 1 – 2 % ก็ได้ - แหย่ NewHigh
29.ช่วง side way หรือช่วงที่หุ้นยังไม่มีแนวโน้มชัดเจน ทะยอยขายครั้งละ 1 – 2 % ก็ได้ - แหย่ NewLow
30.หุ้นขึ้นถึงจุดชอร์ต ( 15 ช่องจากกองหลังตัวบน ) แล้วตกลงมา 3 ช่อง ให้ขายออก 10 %ของจำนวนที่เหลือ
31.ต้องซื้อ & ขายหุ้น ให้ได้ยอดสุทธิเป็น net sell ทุกวัน เพื่อจะได้มีรายได้ไหลเข้าพอร์ต
32.สูตรวางกำลัง 3 – 0 - 2 – 8
33.เดิมมี 1000 หุ้น ทิ้งหลังไว้ 300 แล้วอาศัย 700 หุ้นที่เหลือสร้าง 300 ที่ปล่อยไปให้กลับคืนมา
34.ควรทิ้งกองหลังไว้ 3 ตัวเสมอ โดยใช้เล่นทางลงอย่างเดียว ไม่โงหัวขึ้นมา จะไม่ซื้อกลับ
35.เมื่อวางกองหลัง 3 ตัวแล้วราคาหุ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ยังไม่ต้องทำอะไร ( Let Profit Run ) = เลข 0 ในสูตร
36.เมื่อราคาเริ่มนิ่ง ไม่มีแนวโน้มชัดเจน จึงเริ่มส่งกองกลางลง 2 ตัว โดยทะยอยขาย 1 – 2 % แล้วเก็บคืนเร็ว
37.เมื่อราคาเริ่มเป็นขาขึ้นจึงส่งกองหน้าลง 5 ตัว ( หรือ 8 ตัว เมื่อสามารถสร้างเพิ่มได้อีก 3 ตัว )
38.หุ้นขาขึ้น ให้ใช้ กสงฝ. ซื้อหุ้นที่เหลือปริมาณน้อย เพิ่มเข้าพอร์ต
39.ให้ซื้อหุ้นเพิ่ม เมื่อประเมินแล้วว่าหุ้นจะเป็นขาขึ้น ( เขียวซื้อ ) ห้ามซื้อหุ้นเพิ่ม ถ้าคิดว่าราคาจะลง
40.ห้ามซื้อหุ้นเพิ่ม เพียงเพราะเห็นว่าราคาลงมาต่ำมาก แล้วจะซื้อหุ้นได้ปริมาณมากๆ
41.จะตกปลาดี หรือ จะวิดบ่อดี
42.FIFO ( First In First Out ) จะทำให้ได้กสงฝ.มากกว่า แต่จะเก็บหุ้นได้น้อยกว่า
LIFO ( Last In First Out ) จะทำให้ได้กสงฝ.น้อยกว่า แต่จะเก็บหุ้นได้มากกว่า
43.หุ้น = หุ้น
44.เงิน = หุ้น
45.หุ้น Buddy & 3 ทหารเสือ
46.ควรสลับข้อมูลหุ้นที่ Spread เดียวกัน
47.บัญชีบอก : หุ้นเหลือน้อย แสดงว่าหุ้นนั้นขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะซื้อคืนไม่ได้
....บัญชีบอก : หุ้นเหลือมาก แสดงว่าหุ้นนั้นลงมาเรื่อยๆ เพราะซื้อคืนกลับมาได้ตลอด
....บัญชีบอก : เงินสดคงเหลือเหลือมาก แสดงว่าหุ้นขึ้น เพราะขายแล้วยังไม่สามารถซื้อคืนได้
....บัญชีบอก : เงินสดคงเหลือติดลบ แสดงว่าลงทุนเกินกำลังเงิน
....บัญชีบอก : กสงฝ. เหลือมาก ก็ต้องเอากลับไปลงทุนเพิ่มเติม
....บัญชีบอก : กสงฝ. เหลือน้อย ก็ต้องชะลอ อย่าเพิ่งขยายพอร์ตเร็วเกินไป
48.หุ้นเหลือน้อย/เงินสดติดลบ/กสงฝ. ลดลง/พอร์ตไม่โต -> พอร์ตไม่สมดุล
49.ซื้อหุ้นคืนไม่ได้ -> หุ้นเหลือน้อย -> ขาดกระแสเงินสด -> ขาดหุ้นสร้าง กสงฝ. = ใช้ช่องว่าง ( แปลงร่าง )
50.แปลงร่างเมื่อหุ้นเป็นขาขึ้น
51.แปลงร่างเมื่อเหลือหุ้นน้อย ( 0 – 30 % )
52.แปลงร่างเมื่อราคาปัจจุบันขึ้นห่างจากกองหลังที่จะแปลงมากกว่า 45 ถึง 50 ช่องขึ้นไป
53.แปลงร่างหุ้นตัวหนึ่งได้หลายๆ ครั้ง หลายๆ ช่วง แล้วแต่ว่าราคาจะขึ้นสูงไปจากข้อมูลที่มีอยู่มากเท่าไร
54.แปลงร่างแล้วจะได้ กสงฝ.เทียม ให้นำกลับไปซื้อหุ้นเดิมที่แปลงมา
55.เปลี่ยนตัวเล่นเมื่อหุ้นนิ่งนาน
56.เปลี่ยนตัวเล่นเมื่อหุ้นราคาลดลง 50 %
57.ไม่มีเวลาดูแล ควรพิจารณาขายล้างพอร์ต
58.รักษาเงินสดไว้ให้เพียงพอกับการซื้อหุ้นคืน
59.เงินปันผลที่ได้ ให้คิดเป็น กสงฝ. ไป
60.ให้เน้นสะสมข้อมูลใส่ฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จากคุณ : ได้ ได้ 9 - 5 ( DDALL )
POPULAR POSTS
-
1. สิ่งที่ดีที่สุด คือ สิ่งที่ง่ายที่สุด ( Basic DSM ) 2. การลงทุนควรจะเป็นแบบง่ายๆ และเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เราแค่เหนื่อยในการคิดแผน เมื่อ...
-
2. DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM หัวใจของการลงทุนหุ้น DSM คือ แผนการลงทุนและระบบบัญชี และเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนหุ้น DSM คือ การสะ...
-
1. DSM (1) – จุดกำเนิด DSM ที่มาขอคำว่า DSM มาจากอะไร DSM ย่อมาจาก DenSri Method มาจากชื่อนักลงทุนที่ชื่อเด่นศรี เป็นคนคิดค้นวิธีกา...
-
8. DSM (8) – กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง ซื้อหุ้นแล้ว ไม่มีใครรับประกันได้ว่าราคาหุ้นจะขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์เพื่อรับมือในเวลาหุ้นลง สมมุติว่...
-
คุณสมบัติของนักลงทุนผู้ที่จะใช้วิธี DSM 1. ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว ระยะยาวในที่นี้คือ ตลอดชีวิต เงินลงทุนนี้จะต้องเป็นเงินเก็บจากเงินท...
-
29. DSM (29) - สูตร 3-0-2-8 คืออะไร เป็นวิธีที่คิดขึ้นมากเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล(ซึ่งเป็นกีฬาโปรดของคุณเด่นศรี)ซึ่งได้แบ่งเป็นกองหลัง กอง...
-
ตอนที่ 1: รู้จักออปชัน" ตอนที่ 2: แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับออปชัน" ตอนที่ 3: กลไกการซื้อขายออบชัน" ตอนที่ 4 ใช้ประ...
-
34. DSM (34) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร การเพิ่มทุนของหุ้นในการลงทุนหุ้น DSM จะทำอย่างไรดี หัวข้อนี้ได้แรงบันดาลใจจากคุณ Miniba...
-
ภาวะตลาดช่วงนี้ดูไม่ค่อยสดใสนะครับ คนเล่นหุ้นคงต้องถอยตั้งหลักกันก่อน แต่สำหรับคนที่ Short Futures ไว้คงได้กำไรกันบ้างนะครับ แต่หากใคร Lo...
-
7. DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนในแบบ DSM ได้แล้ว คราวนี้ก็มาถึงเวลาเข้าซื้อหุ้น กฎการลงทุนหุ้นวิธี DSM 1. ซื...