หน้าเว็บ

ตอนที่ 5: Index Options ออปชันบนดัชนี

Options5   
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน หลังจากได้ทำความรู้จักกับออปชันในเบื้องต้นไปแล้ว วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Index Options หรือออปชันบนดัชนีกันต่อครับ
clip_image003Index Options หรือออปชันบนดัชนีนั้น ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้วครับว่าเป็นออปชันบนดัชนี คือมีดัชนีเป็นสินค้าอ้างอิงหรือที่เราเรียกว่า Underlying นั่นเองครับ แต่เนื่องจากสินทรัพย์อ้างอิงที่ระบุอยู่ในออปชันบนดัชนีนั้นไม่ใช่หลัก ทรัพย์เดี่ยว แต่เป็นกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีเครื่องชี้มูลค่าเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ ดังนั้นการส่งมอบกลุ่มหลักทรัพย์ที่ดัชนีนั้นอ้างอิงอยู่จึงทำได้ยาก เพราะฉะนั้นการชำระราคาในกรณีของออปชันบนดัชนีนั้น จึงต้องใช้การชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement) เท่านั้นครับ
clip_image003[1]ทั้ง นี้ เมื่อเรามีแต่ดัชนีซึ่งเป็นเพียงตัวเลข ดังนั้นในการซื้อขายจึงต้องมีการแปลงดัชนีให้เป็นตัวเงิน ซึ่งตัวแปลงนั้นเราเรียกว่า "ตัวคูณดัชนี" (Index Multiplier) ซึ่งกำหนดไว้เป็นจำนวนเงินคงที่ต่อ 1 จุดของดัชนี โดยผู้ลงทุนสามารถแปลงระดับดัชนีให้เป็นตัวเงินได้โดยการคูณระดับดัชนีอ้าง อิงกับตัวคูณดัชนีที่กำหนดไว้ ซึ่งทาง TFEX ได้กำหนดให้ตัวคูณดัชนีของ SET50 Index Options เท่ากับ 200 บาทต่อ 1 จุดดัชนี คิดเป็น 1 ใน 5 ของตัวคูณดัชนีของ SET50 Index Futures ซึ่งเท่ากับ 1,000 บาทต่อ 1 จุดดัชนีครับ มองง่ายๆ ก็คือ SET50 Index Options 5 สัญญาจะมีมูลค่าเท่ากับ SET50 Index Futures 1 สัญญานั่นเองครับ
clip_image003[2]ในการซื้อขายออปชันตัวแปรที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจนั่นก็คือ "ราคาใช้สิทธิ" (Exercise Price) ทั้งนี้ ในการซื้อขายออปชันบนดัชนีในตลาดอนุพันธ์นั้น จะมีการกำหนดให้ออปชันที่ซื้อขายในขณะใดขณะหนึ่งมีระดับราคาใช้สิทธิที่แตก ต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีช่วงความแตกต่างของระดับราคาใช้สิทธิ (Exercise Interval) ที่คงที่ โดย TFEX ได้กำหนดช่วงของระดับราคาใช้สิทธิสำหรับ SET50 Index Options เท่ากับ 10 จุด โดยช่วงเริ่มต้นของทุกวันทำการจะต้องมีออปชันที่ At-The-Money (ATM) 1 series In-The-Money (ITM) อย่างน้อย 5 series และ Out-of-The-Money (OTM) อย่างน้อย 5 series และเพิ่ม series ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อราคาปิดของดัชนี SET50 มีการเปลี่ยนแปลง
clip_image003[3]เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สมมติว่าวันแรกที่มีการซื้อขาย SET50 Index Options ดัชนี SET50 อยู่ที่ 600 จุด จะมีราคาใช้สิทธิ 11 ราคา (ดังตาราง) วันต่อมาดัชนี SET50 ลดลงเป็น 590 จะมี ITM ที่ราคาใช้สิทธิ 540 เพิ่มขึ้นมา 1 series เพื่อให้มี ITM อย่างน้อย 5 series ตามที่กำหนดครับ clip_image005

clip_image001 ทั้ง นี้ ถ้าผู้ลงทุนคาดการณ์ว่าในอนาคตดัชนีหลักทรัพย์น่าจะเพิ่มสูงขึ้น จึงซื้อคอลออปชันบนดัชนี SET50 ที่ราคาใช้สิทธิ 640 จุด พรีเมียมเท่ากับ 30 จุด ในวันที่ซื้อ ผู้ซื้อจะต้องเสียเงินให้แก่ผู้ขายในทันทีเท่ากับ 30x200 = 6,000 บาท ในกรณีที่ถือออปชันจนหมดอายุ หากระดับดัชนี SET50 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 680 จุด ผู้ถือคอลออปชันก็จะใช้สิทธิ และได้รับชำระเงินจากผู้ขายเท่ากับส่วนต่างระหว่างราคาตลาดของดัชนี SET50 กับราคาใช้สิทธิคูณด้วยตัวคูณดัชนี ซึ่งเท่ากับ (680-640)x200 = 8,000 บาท ซึ่งหลังจากหักด้วยพรีเมียมที่ต้องจ่ายไปในตอนแรก ผู้ซื้อคอลออปชันจะได้กำไรเท่ากับ 8,000-6,000 = 2,000 ครับ
clip_image003[4]เป็น อย่างไรกันบ้างครับ ออปชันบนดัชนีไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดใช่ไหมครับ ครั้งหน้าเราจะมาทำความรู้จักกับ SET50 Index Options กันครับ ส่วนหน้าตาจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามครับ แต่หากท่านผู้อ่านอยากทราบก่อน ก็สามารถเข้าไปหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.trinityquicktrade.com นะครับ

อ่านต่อตอนที่6


Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม