หน้าเว็บ

ตอนที่ 3: กลไกการซื้อขายออปชัน

Options17   วันนี้เราจะมาพูดถึงการคิดราคาของออปชัน แน่นอนครับเนื่องจากมีออปชันให้เลือกหลายตัว ทุกคนก็อยากซื้อตัวที่ถูก และขายตัวที่แพง คล้ายๆเวลาเราดูหุ้นครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) เพื่อหาราคาที่ควรจะเป็นของหุ้นตัวนั้นแล้วเปรียบเทียบกับตลาด
clip_image002เนื่อง จากราคาออปชันขึ้นอยู่กับราคาของสินทรัพย์อ้างอิง เราจึงต้องใช้พฤติกรรมของสินทรัพย์อ้างอิงในการวิเคราะห์หาราคาพื้นฐานของออ ปชัน ซึ่งมีหลายวิธีครับ แต่ตัวแบบที่เป็นที่นิยมและโด่งดังมาก เพราะทำให้ผู้คิดได้รางวัลโนเบล คือตัวแบบแบล็ค-โชลส์ (Black-Scholes) ตัวแบบนี้จะใช้ตัวแปร 6 ตัวคือ ราคาสินทรัพย์อ้างอิงในปัจจุบัน ราคาใช้สิทธิ์ อายุที่เหลือของออปชัน อัตราดอกเบี้ย อัตราการจ่ายปันผล และความผันผวนของราคาสินทรัพย์อ้างอิง (Volatility) ในการหาราคาออปชันครับ
clip_image002[1]ถ้า ถามผมว่าแล้วราคาที่ได้ถูกต้อง หมายถึงตรงกับราคาในตลาดไหม ผมตอบว่ายากมาก จริง ๆ แล้วก็เหมือนกับราคาหุ้นครับ เนื่องจากราคาออปชันที่ซื้อขายกัน จะถูกกำหนดโดย Demand & Supply เป็นหลัก และข้อจำกัดสำคัญของตัวแบบ คือ ความผันผวนของราคาสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งต้องใช้ค่าในอนาคต กล่าวคือ จากวันนี้จนถึงวันหมดอายุ ราคาสินทรัพย์อ้างอิงจะผันผวนมากน้อยขนาดไหน ฉะนั้นตัวแบบจึงใช้ค่าประมาณครับ แต่ไม่ว่าคำนวณด้วยสูตรไหน ราคาของออปชันจะเกิดจาก 2 ส่วนประกอบกัน คือ
clip_image002[2]มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) คือค่าของออปชันถ้าเราใช้สิทธิ์ในทันที หรือในแง่หนึ่งก็คือ ราคาสินทรัพย์ปัจจุบันลบกับราคาใช้สิทธิ์ สำหรับคอลออปชัน และกลับกันสำหรับพุทออปชัน แต่เนื่องจากเราจะใช้สิทธิ์ก็ต่อเมื่อ ถ้าใช้แล้วได้กำไร ฉะนั้นมูลค่าที่แท้จริงจึงมีค่าเป็นบวกเสมอครับ
clip_image002[3]มูลค่าที่เกิดจากเวลา (Time Value) ที่เรียกอย่างนี้ เพราะมูลค่าจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่เหลือก่อนที่ออปชันจะหมดอายุครับ ผมขอเรียกว่า ค่าโอกาส แทนก็แล้วกันครับ เนื่องจากถ้าออปชันยังไม่หมดอายุ โอกาสที่ราคาสินทรัพย์อ้างอิงจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราคาดหวังก็ยังมีครับ
clip_image002[4]ยก ตัวอย่างเช่น ถ้าปัจจุบัน ราคาหุ้นอยู่ที่ 100 บาท ราคาใช้สิทธิ์คือ 90 บาทและเหลือเวลาอีก 3 เดือนก่อนที่ออปชันจะหมดอายุ เนื่องจากถ้าเราใช้สิทธิ์วันนี้ในการซื้อของราคา 90 บาท แล้วไปขายในตลาด 100 บาท เราจะได้กำไรทันที่ 10 บาทซึ่งก็คือมูลค่าที่แท้จริงครับ ออปชันตัวนี้จะซื้อขายกันประมาณ 13 บาท ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา 3 บาทคือ มูลค่าที่เกิดจากเวลาครับ หรืออีกมุมหนึ่ง มันก็คือค่าชดเชยของการแบกรับความเสี่ยงของคนขายออปชันครับ
clip_image002[5]ไหนๆก็พูดถึงราคามูลค่าของออปชันแล้ว ขอต่อให้จบเลยก็แล้วกันนะครับ ถ้าเราเปรียบเทียบราคาใช้สิทธิ์ กับราคาปัจจุบัน คำว่า In-The-Money (ITM) จะหมายถึงออปชันที่ถ้าเราใช้สิทธิ์วันนี้แล้วเราได้กำไร ก็คือ ราคาปัจจุบันสูงกว่าราคาใช้สิทธิ์ สำหรับคอลออปชันครับ หรือ ราคาใช้สิทธิ์ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน สำหรับพุทออปชันครับ
clip_image002[6]At-The-Money (ATM) คือ ออปชันที่มีราคาใช้สิทธิ์เท่ากับราคาปัจจุบัน ส่วน Out-of-The-Money (OTM) คือ คอลออปชันที่ราคาตลาดต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ์ และ พุทออปชันที่ราคาใช้สิทธิ์สูงกว่าราคาตลาด โดยทั่วไปแล้ว ออปชัน ITM จะมีราคาแพงที่สุด รองมาคือพวก ATM ส่วนออปชัน OTM จะมีราคาถูกมากครับ เพราะโอกาสที่ออปชันพวกจะหมดอายุโดยไม่มีค่าก็สูงด้วย
clip_image002[7]สาเหตุ ที่ต้องแบ่งออปชันออกเป็น 3 พวกก็เพราะราคาและพฤติกรรมการตอบสนองต่อสินทรัพย์อ้างอิงของออปชันแต่ละ กลุ่มแตกต่างกัน และเหมาะสำหรับนักลงทุนแต่ละแบบครับ
clip_image002[8]นักลงทุนที่ชื่นชอบเสี่ยงโชค อาจจะชอบออปชันประเภท OTM ครับ พวกนี้ราคาจะถูกมาก ซึ่งถ้าเก็งทิศทางถูก แปลว่าถ้าคิดว่าขึ้น แล้วซื้อคอลออปชัน หรือคิดว่าลงแล้วซื้อพุทออปชัน สามารถทำกำไรได้เป็นสิบๆเท่าเลยทีเดียว
clip_image002[9]ส่วนนักลงทุนที่ชอบลุ้นรายวัน เข้าเร็วออกเร็ว ผมขอแนะนำ ATM ออปชัน ครับ พวกนี้จะมีสภาพคล่องสูง อีกนัยหนึ่งคือมีคนซื้อขายเยอะโดยเฉพาะออปชันของเดือนที่ใกล้จะหมดอาย
clip_image002[10]ุ นักลงทุนบางท่านที่ชอบเทรด "วอร์แรนท์" โดยเฉพาะพวกที่ราคาหุ้นแม่สูงกว่าราคาใช้สิทธิ์ ก็คงจะชอบ ITM ออปชัน เช่นกัน ราคาของ ITM ออปชันจะขยับตามราคาหุ้นแม่เกือบจะหนึ่งต่อหนึ่ง แต่เนื่องจากราคาของออปชัน (วอร์แรนท์) ถูกกว่าหุ้นแม่มาก การลงทุนในออปชันจึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนโดยตรงในหุ้นแม่ ด้วยจำนวนเงินลงทุนที่เท่ากัน
clip_image002[11]ครั้งหน้า เราจะคุยกัน เกี่ยวกับศัพท์ที่ใช้ในตลาดออปชันอีกครั้งครับ และเราจะมาแนะนำ "SET50 Index Options" ที่ทุกท่านรอคอย จะหน้าตาเป็นอย่างไร ต้องใช้เงินเท่าไร และจะมีโอกาสในการทำกำไรอย่างไรกันบ้างครับ

อ่านต่อตอนที่4

Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม