หน้าเว็บ

ตอนที่ 2: แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับออปชัน

Options1
วันนี้เราจะมาคุยกันต่อเรื่องออปชันครับ มีอยู่หลายเรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มซื้อขาย เพราะเป็นลักษณะเฉพาะของออปชันที่แตกต่างจากหุ้นโดยทั่วไปครับ
clip_image002ออปชัน คือ ตราสารอนุพันธ์ ที่ให้สิทธิ์ในการซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงในราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ซึ่งต่อจากนี้จะเรียกว่า "ราคาใช้สิทธิ์" ในวันสุดท้ายก่อนที่ออปชันนั้นจะหมดอายุ ซึ่งผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะใช้สิทธิ์หรือไม่ก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะใช้สิทธิ์ครับถ้าใช้แล้วได้กำไร ออปชันสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดครับตามสิทธิ์ที่ให้แก่ผู้ถือ ออปชันประเภทที่ให้สิทธิ์ในการซื้อ เรียกว่า คอลออปชัน (Call Options) ส่วนประเภทที่ให้สิทธิ์ในการขาย พวกนี้เรียกว่า พุทออปชัน (Put Options) ครับ
clip_image002[1]สำหรับ คนที่ซื้อขายหลักทรัพย์อยู่แล้ว อาจจะง่ายขึ้นครับ ถ้าเรามองว่าคอลออปชัน ก็คือ วอร์แรนท์ นั่นเองเพราะให้สิทธิ์ในการซื้อหุ้นแม่ ในราคาใช้สิทธิ์ ส่วนพุทออปชัน อันนี้ไม่มีตัวอย่างครับ บางท่านอาจสงสัยว่าพุทออปชันให้สิทธิ์ในการขาย ฉะนั้นคนที่จะซื้อพุทออปชันก็ต้องมีหุ้นไว้ในพอร์ท ขอตอบว่าไม่จำเป็นครับ ถ้าในวันใช้สิทธิ์ ราคาใช้สิทธิ์มากกว่าราคาตลาด แม้เราจะไม่มีหุ้นอยู่ เราก็สามารถซื้อหุ้นในตลาดในวันนั้นและมาขายในราคาใช้สิทธิ์ได้ครับ
clip_image002[2]การใช้สิทธิ์ (Exercise) เราสามารถใช้สิทธิ์ซื้อสินทรัพย์อ้างอิง หรือขายสินทรัพย์อ้างอิงได้ ในวันสุดท้าย (วันเดียวเท่านั้น) ก่อนที่ออปชันจะหมดอายุครับ ออปชันประเภทนี้จะเรียกว่ามีการใช้สิทธิ์แบบยุโรป (European Style) ส่วนออปชันที่มีการใช้สิทธิ์แบบอเมริกัน (American Style) จะสามารถใช้สิทธิ์ได้ทุกวันครับ ตราบเท่าที่ออปชันยังไม่หมดอายุ พวกนี้ราคา (พรีเมี่ยม) จะแพงกว่าครับ และยังมีออปชันลูกผสม สามารถใช้สิทธิ์ได้เป็นช่วงๆ อย่างเช่นทุกๆ 3 เดือน เรียกว่าแบบเบอร์มิวตันครับ (Bermudan Style)
clip_image002[3]ส่วน การส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง และการชำระราคา ก็จะเกิดขึ้นหลังจากวันใช้สิทธิ์ครับ ซึ่งมีทั้งแบบส่งมอบของกันจริงๆ (Physical Settlement) คือถ้าสินทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ก็ส่งมอบใบหุ้น ถ้าเป็นทอง ก็ต้องหาทองมาให้ครับ ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยากครับเมื่อเทียบกับการชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement) ซึ่งจะนำบัญชีมาดูกันครับ ว่าใครได้ใครเสียเป็นเทียบเป็นจำนวนเงินเท่าไร แล้วก็จ่ายกันตามนั้น อย่างเช่นแทนที่จะส่งมอบหุ้น ก็จ่ายเงินตามราคาตลาดของหุ้นตัวนั้นแทนครับ
clip_image002[4]มา ถึงตรงนี้ ขอบอกนะครับว่าไม่ต้องกังวลกับศัพท์แสงต่างๆ ผมแค่อยากให้ทุกท่านทราบว่าในตลาดออปชันเค้ามีแบบไหนบ้าง เผื่อว่าถ้าไปได้ยินชื่อเข้าจะได้พอทราบว่ามันคืออะไร แต่ออปชันตัวแรกที่เราจะเจอปลายปีนี้ จะเป็นแบบยุโรป และจะใช้การชำระราคาเป็นเงินสดครับ
clip_image002[5]ราคาใช้สิทธิ์ (Strike Price หรือ Exercise Price) คือราคาที่เราต้องจ่ายถ้าใช้สิทธิ์ซื้อ หรือราคาที่เราจะได้รับถ้าใช้สิทธิ์ขาย ในวันใช้สิทธิ์ เราจะมาเปรียบเทียบ ราคาใช้สิทธิ์กับราคาสินทรัพย์อ้างอิงในตลาดกันครับ สำหรับคอลออปชัน ถ้าราคาใช้สิทธิ์ถูกกว่าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงในตลาด เราก็จะใช้สิทธิ์ซื้อของแพงในราคาที่ถูกกว่าครับ ซึ่งจะได้กำไรเป็นส่วนต่างของราคา ส่วนในกรณีของพุทออปชัน ก็จะกลับกันครับ เนื่องจากเรามีสิทธิ์ขายของที่ราคาใช้สิทธิ์ ฉะนั้นถ้าของในตลาดราคาถูกกว่าราคาใช้สิทธิ์ เราก็ใช้สิทธิ์ขายของถูกในราคาที่แพงกว่า เพื่อทำกำไรครับ
clip_image002[6]พูด ง่ายๆก็คือ ถ้าเราถือคอลออปชันอยู่ เราต้องอยากให้ราคาสินทรัพย์ขึ้นไปสูงๆ เพราะว่าเมื่อเราใช้สิทธิ์ เราจะได้กำไรคือส่วนต่างของราคา (ราคาตลาดลบราคาใช้สิทธิ์) หรือมองในมุมกลับกันถ้าเราคิดว่าราคาสินทรัพย์จะขึ้น เราก็ควรจะซื้อคอลออปชันเก็บไว้ครับ เพื่อไม่ให้สับสน ผมขอยกเรื่องนี้ไปพูดในเรื่องเทคนิคการซื้อขายออปชันครับ
clip_image002[7]วันนี้ เนื้อหาอาจจะเยอะไปนิดครับ ถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ ผมแนะนำให้เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมที่ www.tsi-thailand.org หรือที่ www.TrinityQuickTrade.com ครับ มีตัวอย่างและภาพประกอบรวมถึงบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว สำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มศึกษา ขอย้ำอีกครั้งนะครับ อนุพันธ์ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่เป็นเรื่องใหม่ที่ทุกคนต้องใช้เวลาในการศึกษาไปด้วยกันครับ

อ่านต่อตอนที่3

Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม