หน้าเว็บ

ตอนที่ 10: ซึมขึ้น Short Put ซึมลง Short Call

Options11 clip_image001
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับผลตอบแทนของผู้ซื้อคอลออปชันและพุทออปชันกันไป แล้ว หวังว่าคงได้ลองเอาไปปรับใช้กับการซื้อขาย SET50 Index Options กันบ้างแล้ว วันนี้เราจะมาศึกษาผลตอบแทนของผู้ขายออปชันกันบ้างครับ
clip_image003ทบทวน กันนิดนึงครับว่าคอลออปชันนั้นเป็นการให้สิทธิผู้ซื้อในการ "ซื้อ" ในขณะที่พุทออปชันจะให้สิทธิผู้ซื้อในการ "ขาย" สินทรัพย์อ้างอิง ในราคาและระยะเวลาที่กำหนด โดยผู้ซื้อออปชันจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ ในขณะที่ผู้ขายมีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา เมื่อผู้ซื้อต้องการใช้สิทธิ ซึ่งสถานะขายออปชันนี้เราเรียกว่า Short Options ซึ่งแบ่งเป็น Short Put กับ Short Call ครับ
clip_image003[1]โดย ทั่วไปการคาดการณ์แนวโน้มตลาดของผู้ซื้อกับผู้ขายจะตรงข้ามกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อคอลออปชันคาดว่าดัชนี SET50 จะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ผู้ขายคาดว่าตลาดจะแกว่งตัวลง เมื่อผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิซื้อดัชนี SET50 ในอนาคต ตนเองก็จะได้รับพรีเมียมไปฟรีๆ ในทางตรงกันข้ามผู้ซื้อพุทออปชันคาดการณ์ว่าตลาดจะปรับตัวลง แต่ผู้ขายคาดว่าตลาดจะแกว่งขึ้น เช่นเดียวกันเมื่อผู้ถือพุทออปชันไม่ใช้สิทธิ ผู้ขายก็จะได้รับกำไรเป็นค่าพรีเมียม
clip_image003[2]ท่าน ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าถ้าคาดว่าตลาดจะลงทำไมไม่ Long Put แทนที่จะ Short Call หรือถ้าคิดว่าตลาดจะขึ้นทำไมไม่ Long Call แทนการ Short Put ข้อแตกต่างสำคัญอยู่ที่ กระแสเงินสดสำหรับการซื้อและการขายครับ เนื่องจากการซื้อหรือ Long Options ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินออกไปก่อน แต่การ Short Options นั้น ผู้ขายจะเป็นผู้ได้รับเงินก่อน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ลักษณะการแกว่งตัวของสินค้าอ้างอิงด้วย หากคาดว่าตลาดจะซึมๆ คือขึ้นก็ขึ้นไม่มาก ลงก็ลงไม่หนัก ในกรณีนี้การ Short Options จะได้เปรียบกว่า เพราะเพียงแค่ออปชันนั้น Out of the Money ไปเพียงนิดเดียว ผู้ซื้อก็จะไม่ใช้สิทธิ และผู้ขายจะได้รับพรีเมียมนั้นไปฟรีๆ ทันทีครับ
clip_image003[3]จาก การที่ผู้ซื้อออปชันเป็นผู้มีสิทธิเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ผลตอบแทนของผู้ขายออปชันจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจใช้สิทธิของผู้ซื้อเป็น สำคัญ ทั้งนี้ เนื่องจากการซื้อขายออปชันเป็น Zero Sum Game ผู้ซื้อได้กำไร ผู้ขายก็ต้องขาดทุน ดังนั้นผลตอบแทนของผู้ขายจะตรงข้ามกับผลตอบแทนของผู้ซื้อพอดี โดยการ Short Call จะตรงข้ามกับการ Long Call และการ Short Put ก็จะตรงข้ามกับการ Long Put ครับ ทั้งนี้ เราได้ยกตัวอย่างกำไรขาดทุนของการ Long Call และ Long Put กันไปแล้ว ดังนั้น วันนี้จึงขอไม่ยกตัวอย่างการ Short Call และ Short Put นะครับ คิดง่ายๆ คือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง กรณีใดที่ผู้ซื้อใช้สิทธิ ผู้ขายจะขาดทุน และถ้าผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิผู้ขายก็จะได้กำไรครับ
clip_image003[4]นอก จากนี้ สิ่งที่พึงจดจำไว้เสมอก็คือกลยุทธ์ Long Call และ Long Put นั้น ให้ผลกำไรไม่จำกัด แต่ขาดทุนไม่เกินพรีเมียม ดังนั้น การ Short Call และ Short Put จึงให้ผลขาดทุนที่ไม่จำกัด ในขณะที่กำไรสูงสุดจะไม่เกินค่าพรีเมียมครับ การขาดทุนไม่จำกัดนี้เองที่ทำให้ผู้ขายออปชันต้องวางหลักประกันหรือมาร์จิ้น (Margin) เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้ แม้จะดูว่าค่อนข้างเสี่ยง กำไรจำกัด รวมถึงต้องวางหลักประกันก่อนการขาย แต่กลยุทธ์การ Short Options นั้นก็มีข้อได้เปรียบตรงที่ได้เงินก่อน และตลาดแกว่งถูกทางนิดเดียวก็ได้กำไรแล้ว กลยุทธ์นี้จึงเป็นที่นิยมไม่แพ้การ Long Options ครับ
clip_image003[5]ใน กรณีที่ไม่ต้องการรอจนออปชันหมดอายุ ผู้ขายก็สามารถซื้อออปชันตัวเดียวกันนั้นเพื่อเป็นการล้างสถานะได้ครับ โดยหากคอลหรือพุทออปชันในตลาดมีราคาต่ำลง การซื้อออปชันเพื่อปิดสถานะขายก็จะได้กำไร เพราะขายได้แพง แต่ซื้อกลับได้ในราคาที่ถูกกว่า ซึ่งราคาของคอลและพุทออปชันก็จะขึ้นกับราคาสินค้าอ้างอิงเป็นหลักตามที่ กล่าวไปในคราวที่แล้ว คือ ราคาคอลออปชันจะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับดัชนี SET50 ส่วนราคาพุทออปชันจะเคลื่อนไหวในทิศตรงข้ามครับ
clip_image003[6]เป็น อย่างไรกันบ้าง Short Call และ Short Put ไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมครับ ในครั้งหน้าเราจะมีศึกษากลยุทธ์การถือ Futures ร่วมกับการ Short Call Options กัน ต้องติดตามครับ

อ่านต่อตอนที่11

Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม