หน้าเว็บ

ตอนที่ 7: การคำนวณหลักประกัน Options

Options8
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน มาถึงตอนนี้คงคุ้นหน้าคุ้นตาเจ้า SET50 Index Options กันบ้างแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีคำนวณหลักประกันในการซื้อขายออปชันกันครับ
clip_image002 เนื่อง จากการซื้อขาย SET50 Index Options ผู้ขายจะเป็นผู้ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อในการที่จะซื้อดัชนี SET50 ในราคาที่กำหนด ดังนั้น ผู้ซื้อจึงต้องจ่ายค่าพรีเมียมให้แก่ผู้ขาย อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อมีความเสี่ยงที่ผู้ขายจะไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องมีการเรียกวางหลักประกันจากผู้ขายเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่ผู้ขาย จะเบี้ยวนั่นเองครับ
clip_image002[1]ใน การซื้อขายออปชันแบบ Outright คือซื้อขายพุทหรือคอลเพียงชนิดเดียว ผู้ขายจะได้รับเงินค่าพรีเมียมจากผู้ซื้อ และต้องกันเงินส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการวางหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin: IM) โดยผู้ขายจะต้องรักษาระดับหลักประกันให้สูงกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin: MM) และหากหลักประกันต่ำกว่า MM จะต้องวางหลักประกันภายใน13.30 น. ของวันรุ่งขึ้น เพื่อให้หลักประกันกลับไปอยู่ในระดับหลักประกันขั้นต้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากราคาออปชันที่ซื้อขายมีความผันผวนอย่างรุนแรงจนกระทั่งหลักประกันที่มี อยู่ต่ำกว่าหลักประกันขั้นต่ำเพื่อบังคับปิดฐานะ (Force Closed Margin: FM) ทั้งนี้ถ้าผู้ขายไม่สามารถวางหลักประกันเพิ่มเติมได้ภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากมีการแจ้งเตือน โบรกเกอร์จะทำการบังคับล้างฐานะที่ท่านมีอยู่บางส่วนทันทีครับ
clip_image002[2]สำหรับ มูลค่าหลักประกันในการซื้อขาย SET50 Index Options ทาง TFEX ได้กำหนดให้เท่ากับมูลค่าสูงสุดระหว่างค่าหลักประกันความเสี่ยง 2 ค่า สมมติให้เป็น A กับ B บวกด้วยราคาออปชันที่ซื้อขายในตลาด (Mark to Market Options Premium) หรือเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ครับ [Margin Requirement = Max(A, B) + Mark to Market Options Premium]
clip_image002[3]สำหรับ ค่าหลักประกันความเสี่ยง (A, B) ที่ใช้ในการคำนวณหลักประกันจะแตกต่างกันไปตามประเภทของหลักประกัน โดย IM จะมีค่า A เท่ากับ 10,000 บาทหักด้วย Out of the Money Value สำหรับ MM และ FM ตัวเลข 10,000 บาทจะเปลี่ยนเป็น 7,000 บาทและ 3,000 บาทตามลำดับ ส่วนค่า B นั้นจะเท่ากับ 1,500 บาททุกกรณีครับ
clip_image002[4]โดย Out of the Money Value (OTM Value) คำนวณจากส่วนต่างของราคาใช้สิทธิกับราคาตลาดของดัชนี SET50 คูณด้วยตัวคูณดัชนี สำหรับคอลออปชัน OTM Value จะเท่ากับมูลค่าสูงสุดระหว่างราคาใช้สิทธิลบด้วยดัชนี SET50 กับศูนย์ แล้วคูณด้วย 200 บาท ส่วนพุทออปชัน OTM Value จะเท่ากับ มูลค่าสูงสุดระหว่างระดับดัชนี SET50 ลบด้วยราคาใช้สิทธิ กับศูนย์ แล้วคูณด้วย 200 บาท
clip_image002[5]จาก หลักการข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าค่าประกันความเสี่ยง (A) จะเท่ากับ 1 ใน 5 ของหลักประกันฟิวเจอร์สรวมกับราคาตลาด (พรีเมียม) ของออปชันตัวนั้น เพียงแต่หากออปชันนั้นเป็น OTM โอกาสในการที่จะถูกใช้สิทธิก็ลดลงจึงนำมาหักกลบในส่วนหลักประกันที่จะเรียก ด้วย โดยมีการกำหนดหลักประกันขั้นต่ำที่ 1,500 บาทต่อสัญญา (B)
clip_image002[6]ยก ตัวอย่างง่ายๆ ครับ นาย ก ซื้อ S50Z07C650 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 44.50 จุด ระดับดัชนี SET50 อยู่ที่ 640 จุด ณ วันที่ซื้อ นาย ก จะต้องมีเงินในบัญชีอย่างน้อยเท่ากับค่าพรีเมียม = 44.50x200 = 8,900 บาท (ไม่รวมค่านายหน้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนนาย ข ในฐานะผู้ขาย จะต้องมีเงินในบัญชีอย่างน้อยเท่ากับหลักประกันขั้นต้น โดย OTM Value จะมีค่าเท่ากับ Max(650-640, 0)*200 = 2,000 บาท ส่งผลให้ A = 10,000-2,000 = 8,000 ซึ่งสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ B ที่ 1,500 บาท ดังนั้น IM ที่ต้องวางจะเท่ากับ 8,000 + 8,900 = 16,900 บาทครับ
clip_image002[7]นอก จากนี้ เรายังมีวิธีการคำนวณหลักประกันในกรณีที่ซื้อขายออปชันแบบกลยุทธ์ ซึ่งวิธีคำนวณก็จะแตกต่างกันไปครับ ดังนั้น ผู้ที่สนใจจะซื้อขายออปชันสามารถศึกษาเรื่องการวางหลักประกันเพิ่มเติมได้ ที่ www.TrinityQuickTrade.com สำหรับคราวหน้าเราจะคุยกันถึงเรื่องกลยุทธ์ในการซื้อขายออปชันกันครับ

อ่านต่อตอนที่8

Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม