หน้าเว็บ

ตอนที่ 14: ตลาดหมีต้อง Bear Spread

clip_image001 Options16
หลัง จากที่เราได้แนะนำกลยุทธ์ในการซื้อขายออปชันไปหลากหลายรูปแบบแล้ว มีใครได้ลองไปฝึกวิชาดูบ้างหรือยังครับ คราวที่แล้วเราก็ศึกษากลยุทธ์สู้ตลาดกระทิงกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนกระบวนท่าตั้งรับตลาดหมีอย่าง Bear Spread ดูบ้างครับ
clip_image003Bear Spread จะคล้ายกับ Bull Spread ตรงที่เป็นการใช้ออปชันชนิดเดียวกัน ที่มีราคาใช้สิทธิต่างกันมาสร้างเป็นกลยุทธ์ แต่จะใช้สำหรับทำกำไรในช่วงตลาดขาลง และป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ตลาดเปลี่ยนทิศเป็นขาขึ้น ทั้งนี้ ถ้าสร้างจาก Call Options จะเรียกว่า Bear Call Spread และถ้าสร้างจาก Put Options ก็จะเรียกว่า Bear Put Spread ครับ
clip_image003[1]กรณี ของ Bear Call Spread จะเป็นการซื้อคอลออปชันที่ราคาใช้สิทธิหนึ่ง พร้อมกับขายคอลออปชันที่มีราคาใช้สิทธิต่ำกว่า ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ซื้อ S50Z07C660 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 10 จุด ในขณะเดียวกันก็ขาย S50Z07C620 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 30 จุด สุทธิแล้วนาย ก ได้รับเงินทั้งสิ้น 4,000 บาท ทั้งนี้ คอลออปชันที่มีราคาใช้สิทธิต่ำจะมีราคาสูงกว่าคอลออปชันที่มีราคาใช้สิทธิ สูงตามที่เคยกล่าวมาแล้ว ดังนั้น ในการทำ Bear Call Spread ผู้ลงทุนจะเป็นฝ่ายได้รับเงินค่าพรีเมียมก่อน และถูกเรียกวางหลักประกันเท่ากับผลต่างของราคาใช้สิทธิคูณด้วยตัวคูณดัชนี
clip_image003[2]ณ วันครบกำหนดอายุ หากดัชนี SET50 ปิดที่ 620 จุด นาย ก จะได้พรีเมียมจากการขายคอลออปชันไปฟรีๆ 6,000 บาท แต่ต้องเสียพรีเมียมจากการซื้อคอลออปชันที่ราคาใช้สิทธิสูงไปเช่นกันจำนวน 2,000 บาท สุทธิแล้วได้กำไร 2,000 บาท โดยหาก SET50 ปิดต่ำกว่า 620 จุด เมื่อหักลบพรีเมียมที่ได้กับที่เสียแล้ว จะมีผลกำไรได้สูงสุดไม่กิน 4,000 บาท อย่างไรก็ตาม หาก SET50 ไม่เป็นไปตามคาด ขึ้นมาปิดที่ 660 จุด นาย ก จะขาดทุนจากการขายคอลออปชันไป 2,000 บาท และต้องเสียพรีเมียมจากการซื้อคอลออปชันไปอีก 2,000 บาท รวมแล้วขาดทุน 4,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่ SET50 ปิดสูงกว่า 660 บาท นาย ก ก็จะจำกัดผลขาดทุนไว้ที่ 4,000 บาท
clip_image003[3]สำหรับ Bear Put Spread จะเป็นการซื้อพุทออปชันที่ราคาใช้สิทธิหนึ่ง พร้อมกับขายพุทออปชันที่มีราคาใช้สิทธิต่ำกว่า ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ซื้อ S50Z07P660 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 30 จุด ขณะเดียวกันก็ขาย S50Z07P620 จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 10 จุด สุทธิแล้ว นาย ก ต้องจ่ายเงินออกไปทั้งสิ้น 4,000 บาท ทั้งนี้ พุทออปชันที่มีราคาใช้สิทธิต่ำจะมีราคาต่ำกว่าพุทออปชันที่มีราคาใช้สิทธิ สูง ดังนั้น ในการทำ Bear Put Spread จะตรงข้ามกับ Bull Put Spread คือผู้ลงทุนจะเป็นฝ่ายจ่ายเงินออกไปก่อน โดยไม่ต้องวางหลักประกันแต่อย่างใด
clip_image003[4]ณ สิ้นเดือนธันวาคม หาก SET50 ปิดที่ 620 จุด นาย ก จะได้พรีเมียมจากการขายพุทออปชัน เนื่องจากผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิจำนวน 2,000 บาท และได้กำไรจากการซื้อพุทออปชันอีก 2,000 บาท รวมแล้วได้กำไร 4,000 บาท โดยในกรณีที่ SET50 ปิดต่ำกว่า 620 จุด กำไรจากการซื้อพุทออปชันจะหักลบกับขาดทุนจากการขายพุทออปชัน สุทธิแล้วจะได้กำไรไม่เกิน 4,000 บาท ในทางตรงข้าม หาก SET50 ขึ้นมาปิดที่ 660 จุด นาย ก จะเสียพรีเมียมจากการซื้อคอลออปชันไปฟรีๆ 6,000 บาท แต่ได้ชดเชยจากพรีเมียมของการขายพุทออปชัน 2,000 บาท สุทธิแล้วขาดทุน 4,000 บาท และในกรณีที่ SET50 ปิดสูงกว่า 660 จุด นาย ก ก็มีผลขาดทุนไม่เกิน 4,000 บาท
clip_image003[5]จะ เห็นได้ว่าผลตอบแทนของ Bear Call Spread กับ Bear Put Spread จะมีลักษณะคล้ายกัน ต่างกันตรงที่การทำ Bear Call Spread ผู้ลงทุนจะเป็นฝ่ายได้รับเงินเข้ามาก่อน และต้องวางหลักประกันจำนวนหนึ่ง ในขณะที่การทำ Bear Put Spread ผู้ลงทุนจะต้องเป็นฝ่ายจ่ายเงินออกไปในวันแรก สังเกตดีๆ จะลักษณะผลตอบแทนจะตรงกันข้ามกับกรณีของ Bull Spread ทุกประการครับ ทั้งนี้ หากตลาดอยู่ในขาขึ้นราคาคอลออปชันจะสูงกว่าพุทออปชันโดยเปรียบเทียบ การทำ Bear Call Spread อาจจะมีต้นทุนสูงกว่าการทำ Bear Put Spread แต่หากตลาดเป็นขาลง การทำ Bear Put Spread ก็อาจจะมีต้นทุนสูงกว่าได้ กรณีนี้ ต้นทุนของการทำ Bull Spread และ Bear Spread จะผันแปรตามภาวะตลาดในทิศทางเดียวกันครับ
clip_image003[6]คราวหน้าเราจะมาศึกษาการทำกำไรในช่วงตลาด Sideway กันบ้าง อย่าพลาดนะครับ

อ่านต่อตอนที่15

Bookmark and Share

POPULAR POSTS

PLEASE VOTE @sset4blog IF Y0U LIKE

SOCIAL COMMENTS

ผู้ติดตาม