2. DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM
2. DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM
หัวใจของการลงทุนหุ้น DSM คือ แผนการลงทุนและระบบบัญชี และเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนหุ้น DSM คือ การสะสมจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นและสร้างกระแสเงินสดแฝง
ถ้าลงทุนหุ้นตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้อย่างเคร่งครัดแล้วไม่ต้องสนว่าตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น(Uptrend) หรือขาลง (Downtrend) ถ้าได้ถึงระดับนี้ ท่านได้เป็นถึงระดับ Master ซึ่งได้เลื่อนขึ้นมาจากระดับ Basic แล้วนั้นเอง และเมื่อเราทำตามแผนการดีเยี่ยมนี้แล้วจะค้นพบว่าวิธีDSM ตอนเล่นหุ้นขาขึ้นได้ดีกว่าตอนเล่นหุ้นขาลง (ต้องศึกษา สูตร 3-0-2-8 อย่างละเอียดแล้วจะได้คำตอบที่ต้องการ)
แนวคิดของ DSM
“สะสมจำนวนหุ้นให้เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนเงินเพิ่ม” เหมือนกับแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์การใช้ทรัพย์กร (เงิน) ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ ลองนึกว่า ถ้าคุณมีบ้านให้เช่า ทุกเดือนจะได้ค่าเช่า ค่าเช่าที่ได้นี้ให้สะสมเก็บไว้ เมื่อได้มากพอก็นำไปลงทุนเพิ่ม จากบ้าน 1 หลัง กลายเป็น 2 หลัง จาก 2 หลังกลายเป็น 4 หลัง จาก 4 หลังกลายเป็นโรงแรม (แนวคิดดั้งเดิมจากเกมเศรษฐี ที่คุณโรเบิร์ต ที คิโยซากินำมาประยุกต์และเพิ่มเติมกลายเป็นเกม Cash Flow)
ทำไมไม่ควรลงทุนเงินเพิ่ม เพราะสิ่งที่เราลงทุน สิ่งนั้นมันต้องสร้างตัวมันเอง เหมือนกับการให้เงินแต่ละเหรียญทำงานให้ท่าน เพื่อให้มันออกลูกออกหลานเฉกเช่นฝูงปศุสัตว์ในทุ่งหญ้าซึ่งจะช่วยนำรายได้มาสู่ท่าน เป็นกระแสความมั่งคั่งที่หลั่งไหลเข้าสู่ถุงเงินของท่านอย่างไม่ขาดสาย(จากหนังสือเศรษฐีชี้ทางรวย)
แนวคิดวิธีDSMนี้ คาดว่านักลงทุนต่างชาติทำคล้าย ๆ กัน ให้ลองสังเกตดู วันไหนเค้าขายวันนั้นหุ้นตก เพราะเค้าคงดูภาวะตลาดเหมือนกัน ถ้าหุ้นลง เค้าก็ขายตาม ไม่ฝืนตลาด โดยเฉพาะขายแล้วต้องลง เพราะเค้าจะได้ซื้อคืนในราคาถูกกว่าที่ขาย ถ้าวันไหนเค้าซื้อ หุ้นก็ขึ้น เพราะเค้าคิดว่า ถ้าซื้อแล้วหุ้นต้องขึ้น อีกอย่างหนึ่งถ้าซื้อหุ้นมาไว้ในมือ ใครๆก็ต้องอยากให้ราคามันขึ้นไปเรื่อย ๆ แม้จะมีแค่เพียง 100 หุ้น ก็ยังอยากให้ราคามันขึ้น จะได้ขายเอากำไร ยิ่งมีเป็นล้านหุ้น ยิ่งต้องอยากให้หุ้นขึ้น แต่ทำไมนักลงทุนต่างชาติที่มีหุ้นในมือมหาศาล ทำไมไม่ชอบให้หุ้นขึ้น แต่ชอบให้ขึ้น ๆ ลง ๆ และ ลงหนัก ๆ ทำให้คิดว่าหุ้นขาลงมันต้องมีอะไรดีกว่าหุ้นขาขึ้นแน่ ๆ ถ้าหุ้นขาขึ้นได้กำไร แสดงว่าหุ้นขาลงมันน่าจะอภิมหากำไรเลย และด้วยวิธีนี้ทำให้นักลงทุนต่างชาติจึงมีหุ้นเอามาขายได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดสิ้นสักที
เรานักลงทุนหุ้นวิธีDSM ทำตามแนวทางเดียวกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งต่อไปจะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ นับจำนวนไม่ได้เลย
3. DSM (3) – คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM
คุณสมบัติของนักลงทุนผู้ที่จะใช้วิธี DSM
1. ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว ระยะยาวในที่นี้คือ ตลอดชีวิต เงินลงทุนนี้จะต้องเป็นเงินเก็บจากเงินที่ต้องจ่ายให้ตัวเองอย่างน้อย 10% จากรายได้แต่ละครั้งและรวมส่วนเหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วและเก็บมาจากรายจ่ายฟุ่มเฟือย (เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ การพนัน เป็นต้น) และห้ามถอนเงินนี้มาใช้เป็นอันขาด เพราะถือว่าเป็นเงินลงทุนตลอดชีวิต ถ้าจะถอนได้ตามสัดส่วนกระแสเงินสดแฝงที่ได้รับเท่านั้น และสามารถให้ทรัพย์สินเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ หรือจะกล่าวว่าวิธี DSM ดีถึงชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
2. ต้องมีแนวคิดในการสร้างรายได้จากพอร์ต ไม่ใช่กำไรจากพอร์ต โดยที่ไม่สนใจ มูลค่าพอร์ตที่ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงและสิ่งแรกที่ต้องทำคือแยกให้ออกก่อนว่า ความแตกต่างระหว่างทำกำไรส่วนต่างกับการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ถ้าแยกได้แล้วจะลงทุนตามแนวทางนี้ได้สำเร็จ
3. อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึงความร่ำรวยมีเงินหลายร้อยล้านพันล้านบาท แต่หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีอิสระที่จะทำสิ่งที่ต้องการทำ อิสรภาพทางการเงินไม่ได้วัดที่จำนวนเงินที่มี แต่วัดกันที่ "ใครมีเวลาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ตนเองต้องการมากกว่ากัน"
4. ต้องมีวินัยในการลงทุน การตัดสินใจลงทุนด้วยวิธี DSM ถ้าหากเลิกกลางคัน จะเกิดความเสียหายมาก ถ้าเลิกก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ปี
5. ต้องมีเป้าหมายในอนาคต เป้าหมายนี้ไม่ใช่เงินจำนวนเท่าใด แต่เป้าหมายที่ต้องตั้งคือ "ฉันจะต้องได้รับเงินปันผลเท่าใดจึงจะพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน" เพื่อจะมีอิสรภาพทางการเงินในแบบที่ต้องการ
6. จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกกับเสียงทักของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
7. ต้องมีเวลาดูแลพอร์ตอย่างเอาใจใส่
8. ต้องมีความสมัครใจด้วยตัวของนักลงทุนเอง ที่จะเลือกใช้แนวทางDSM นี้ซึ่งไม่มีใครสามารถบังคับได้และถ้าพร้อมแล้วหลังจากศึกษาแนวคิดเข้าใจดีแล้วให้เริ่มสร้าง Model Trade ของแต่ละนักลงทุนเองได้เลย พร้อมกับสร้างหลักการตัววัดผลของความสำเร็จของแต่ละนักลงทุนเองโดยนำเอาตัวอย่างเบื้องต้นจากบทความแห่งนี้เป็นต้นแบบ
9.การลงทุนหุ้นวิธีDSM เสี่ยงหรือไม่ แต่ความเสี่ยงไม่ได้อยู่ที่การลงทุน แต่อยู่ที่การขาดความเข้าใจในแนวคิดของการลงทุนด้วยวิธีนี้ต่างหาก ซึ่งถ้าไม่เข้าใจถือว่าเสี่ยงมากที่สุดแทนต่างหาก แต่อย่างไรไม่มีอะไรในชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง แต่การลงทุนควรเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำเสมอดังนั้นการลงทุนหุ้นวิธีDSM จึงเป็นคำตอบ
4. DSM (4) – ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี
4. DSM (4) – ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี
ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปีด้วย
เพราะจากผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นแบบ DSM จะได้กระแสเงินสดแฝงโดยเฉลี่ยขั้นต่ำอย่างน้อย 3% อาจได้มากกว่านี้ได้ เพราะบางเดือนได้มาก บางเดือนได้น้อยกว่านี้
จากสูตรคำนวณ 72 จำกันได้หรือเปล่า ถ้าเอาเลข 72 ตั้งหารด้วยจำนวน % ต่อปีผลลัพธ์จะได้เท่ากับจำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็น 2 เท่า
ผลลัพธ์จำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็นสองเท่า = 72/ (3%x12) = 2 ปี ดังนี้ภายในสองปีจะได้เงินเริ่มต้นเป็นทุกสองเท่า นั้นย่อมแสดงว่า เราสามารถทำให้ได้กระแสเงินสดแฝงเท่ากับจำนวนเงินต้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องอยู่กับหุ้นตัวนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี และที่สำคัญตลาดหุ้นเมืองไทยสามารถทำให้คืนเงินต้นได้เร็วยิ่งขึ้นเพราะเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง
ดังนั้นการลงทุนไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลงมือทำ ต้องค่อย ๆ ก้าวเดินแบบทารก และโอกาสของนักลงทุนมีอยู่ทุก ๆ วินาที ต้องมีความ “อดทนเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเป้าหมาย” ตามที่ได้วางแผนไว้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
POPULAR POSTS
-
1. สิ่งที่ดีที่สุด คือ สิ่งที่ง่ายที่สุด ( Basic DSM ) 2. การลงทุนควรจะเป็นแบบง่ายๆ และเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เราแค่เหนื่อยในการคิดแผน เมื่อ...
-
2. DSM (2) – หัวใจและแนวคิดของ DSM หัวใจของการลงทุนหุ้น DSM คือ แผนการลงทุนและระบบบัญชี และเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนหุ้น DSM คือ การสะ...
-
1. DSM (1) – จุดกำเนิด DSM ที่มาขอคำว่า DSM มาจากอะไร DSM ย่อมาจาก DenSri Method มาจากชื่อนักลงทุนที่ชื่อเด่นศรี เป็นคนคิดค้นวิธีกา...
-
8. DSM (8) – กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง ซื้อหุ้นแล้ว ไม่มีใครรับประกันได้ว่าราคาหุ้นจะขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์เพื่อรับมือในเวลาหุ้นลง สมมุติว่...
-
คุณสมบัติของนักลงทุนผู้ที่จะใช้วิธี DSM 1. ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว ระยะยาวในที่นี้คือ ตลอดชีวิต เงินลงทุนนี้จะต้องเป็นเงินเก็บจากเงินท...
-
29. DSM (29) - สูตร 3-0-2-8 คืออะไร เป็นวิธีที่คิดขึ้นมากเปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล(ซึ่งเป็นกีฬาโปรดของคุณเด่นศรี)ซึ่งได้แบ่งเป็นกองหลัง กอง...
-
ตอนที่ 1: รู้จักออปชัน" ตอนที่ 2: แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับออปชัน" ตอนที่ 3: กลไกการซื้อขายออบชัน" ตอนที่ 4 ใช้ประ...
-
34. DSM (34) – กลยุทธ์หุ้นDSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร การเพิ่มทุนของหุ้นในการลงทุนหุ้น DSM จะทำอย่างไรดี หัวข้อนี้ได้แรงบันดาลใจจากคุณ Miniba...
-
ภาวะตลาดช่วงนี้ดูไม่ค่อยสดใสนะครับ คนเล่นหุ้นคงต้องถอยตั้งหลักกันก่อน แต่สำหรับคนที่ Short Futures ไว้คงได้กำไรกันบ้างนะครับ แต่หากใคร Lo...
-
7. DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนในแบบ DSM ได้แล้ว คราวนี้ก็มาถึงเวลาเข้าซื้อหุ้น กฎการลงทุนหุ้นวิธี DSM 1. ซื...